สวัสดีค่ะ____ยินดีต้อนรับค่ะ

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทย


ประเพณีทอดกฐิน   

      สมัยแรกเริ่มเดิมที่เกิดขึ้นเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ในวัดก่อน  คฤหัสถ์ยังทำไม่ได้เหมือนในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นของภิกษุที่อยู่ในอาวาสเดียวกัน จะต้องถือนิสัย  คือ  ถือความเป็นศิษย์เล่าเรียนพระธรรมวินัยในสำนักพระเถระก่อน  ถึงคราวจะจากไปเป็นเหตุให้ภิกษุทั้งหลายคิดถึงอุปการะคุณ จึงเรี่ยไรผ้าที่หาได้คนละเล็กละน้อยทำเป็นสบง  จีวรสังฆาฎิ   เพื่อถวายเป็นของที่ระลึกพระพุทธานุญาตในการทำกฐินนี้เพื่อส่งเสริมการมีอุปการะคุณต่อผู้ใหญ่   และปฏิบัติกิจการของผู้น้อยให้เจริญขึ้นด้วยสามัคคีธรรม  และยังเป็นการฝึกหัดให้พระสงฆ์ชำนาญในการตัดเย็บจีวรอีกด้วย



      กฐิน   แปลว่า  ไม้สะดึง คือ  กรอบไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับขึงผ้าเพื่อสะดวกในการตัดเย็บจีวร ในสมัยโบราณช่างไม่มีความชำนาญอีกทั้งผ้าไตรจีวรของพระภิกษุ   เป็นผ้าผืนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ยากที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ตายตัว    การเย็บจีวรนั้นพระทั้งหลายก็จะมาช่วยกัน อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่ม  เป็นต้น   โดยความหมายผ้ากฐินก็คือ ผ้าที่สำเร็จรูปโดยใช้ไม้สะดึง ผู้ทอดกฐินก็คือผู้นำผ้ากฐินไปถวายแก่สงฆ์องค์ครองกฐินก็คือภิกษุผู้ได้รับผ้ากฐิน
ผ้ากฐิน  คือ  ผ้าที่สำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง
ผู้ทอดกฐิน  คือ  ผู้นำผ้ากฐินไปถวายแก่สงฆ์
ผู้ครองกฐิน  คือ  ภิกษุผู้ได้รับผ้ากฐิน

ประวัติความเป็นมา
      ประวัติการทอดกฐินมีอยู่ว่าสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ครั้งนั้นมีภิกษุชาวเมืองปาไฐยยะ(ตะวันตกแคว้นโกศล) เดินทางมาเพื่อต้องการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
แต่ไม่ทันเพราะใกล้ฤดูเข้าพรรษาจึงต้องจำพรรษาในเมืองสาเกต   ครั้นออกพรรษา ก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีระหว่างทางพื้นดินยังเป็นหลุมเป็นโคลนภิกษุทั้งหลายจีวรและ
ร่างกายต่างเปื้อนโคลน พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของพระสงฆ์จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ในฤดูออกพรรษา สำหรับพุทธศาสนิกชนคนแรกที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต

ให้ถวายผ้ากฐินก็คือ นางวิสาขามหาอุบาสิกา  นับแต่นั้นมาพุทธบริษัทก็เริ่มทำบุญทอดกฐินจนกลายมาเป็นประเพณีจนทุกวันนี้  เมื่อถึงเวลาทอดกฐิน สิ่งที่น่าสังเกตคือ วัดใดที่จะมีการทอดกฐินจะต้องมีธงรูปจระเข้ติดที่หน้าวัดและขบวนกฐินก็จะมีธงรูปจระเข้นำขบวนไปด้วย  การที่มีธงจระเข้มาเกี่ยวข้องด้วยนี้  นัยหนึ่งท่านว่า มีอุบาสกผู้หนึ่งแห่องค์กฐินไปทางเรือ   จระเข้อยากได้บุญบ้างจึงอุตส่าห์ว่ายน้ำตามเรือไป  จนหมดกำลังไปไม่ไหวจึงร้องบอกอุบาสกให้ช่วยเขียนภาพของตนที่ธง แล้วนำขบวนไปด้วยอุบาสกจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้น  ตั้งแต่นั้นมาจึงมีธงรูปจระเข้ติดที่วัดที่มีการทอดกฐินและนำขบวนกฐินไปด้วยจนถึงทุกวันนี้  

เขตกำหนดการทอดกฐิน 
      ระยะเวลาในการทอดกฐินมีกำหนดตั้งแต่  แรม ๑ ค่ำ  เดือน  ๑๑  ไปจนถึงกลางเดือน  ๑๒  มีกำหนด  ๑  เดือนภายหลังจากออกพรรษาแล้วจะทอดก่อนหรือหลังที่กำหนดไม่ได้
ก่อนที่จะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดไหน จะต้องไป "จองกฐิน"  คือไปนมัสการให้เจ้าอาวาสวัดนั้นทราบเสียก่อน  ท่านจะได้ประกาศไว้ว่าวัดนั้น ๆ มีผู้จองแล้ว  เพราะวัดไหนจะรับผ้ากฐินได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น 
ประเภทของกฐิน    มี ๒  ชนิด   คือ                                                                                                                                                                                      
( ๑) กฐินหลวง  คือ กฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดเองหรือโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปแทนพระองค์หรือข้าราชการ ประชาชน       ผู้ใด
ผู้หนึ่งหรือคณะบุคคลขอพระราชทานไปทอด  ณ  วัดพระอารามหลวง   วัดใดวัดหนึ่ง
( ๒) กฐินราษฎร์  คือกฐินที่ผู้มีจิตศรัทธาผู้ใดผู้หนึ่ง หรือคณะบุคคลนำไปทอด ณ  วัดราษฎร์   วัดใดวัดหนึ่ง

      การทอดกฐินในอำเภอนาน้อยนั้นส่วนใหญ่  ผู้ทอดกฐินจะทอดเป็นคณะ เช่น คณะกฐินสามัคคีมาจากกรุงเทพฯ  หรือจากต่างจังหวัด  โดยคณะศรัทธาชาวบ้านจะร่วมสมทบทำบุญกับองค์กฐิน นอกจากนั้นการทอดกฐินบางแห่งกลางคืนจะมีมหรสพสมโภชครึกครื้น ญาติพี่น้องต่างหมู่บ้านมักจะไปร่วมอนุโมทนาด้วย

แหล่งที่มา:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น