สวัสดีค่ะ____ยินดีต้อนรับค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การละเล่นของไทย

ขี่ม้าส่งเมือง




(การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น)
เป็นการเล่นของเด็กไทยที่นิยมเล่นกันในหมู่เด็กชาย เพราะมีการขี่คอผู้เล่นที่เป็น ฝ่ายแพ้ซึ่งถูกสมมติให้เป็นม้า จึงไม่นิยมเล่นในหมู่เด็กหญิง บางทีก็เรียกการเล่นนี้ว่า เทวดา นั่งเมือง การเล่นในแต่ละท้องถิ่นจะคล้ายคลึงกัน อาจมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดเล็กน้อย




วัตถุประสงค์


  • เพื่อฝึกความว่องไวและการใช้ไหวพริบ
  • เพื่อฝึกความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และการรู้จักแพ้ รู้จักชนะ

อุปกรณ์ 

ผ้าโพกศีรษะเท่าจำนวนผู้เล่น แบ่งออกเป็น 2 สี สำหรับผู้เล่น 2 ฝ่าย ฝ่ายละสี

ผู้เล่น 

ไม่จำกัดจำนวน แต่ถ้ามีจำนวนมากประมาณ 20 คน ยิ่งเป็นการดี เพราะจะทำให้การเล่นสนุกสนานยิ่งขึ้น 

รูปแบบ 

แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายเท่า ๆ กัน ตั้งแถวให้ห่างกันประมาณ 10 เมตร ฝ่ายหนึ่งให้เรียก หมู่หนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งเรียก หมู่สอง มีผู้เล่น 1 คน หรือ 2 คน มาเป็นเจ้าเมือง นั่งอยู่ตรงกลางระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ดังภาพประกอบ 





วิธีการเล่น 

ให้ผู้เล่นแต่ละฝ่ายโยนหัวโยนก้อยหรือจับไม้สั้นไม้ยาว เพื่อหาฝ่ายชนะ ในการเริ่มเล่นคือ เป็นผู้กระซิบก่อน แต่ต้องตกลงกันว่าจะกระซิบเรื่องอะไร เช่น ชื่อประเทศ ชื่อจังหวัดในประเทศไทย ชื่อดอกไม้ ชื่อขนม หรือชื่อของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น สมมติว่ากระซิบบอกชื่อผู้เล่นของฝ่ายตรงข้าม เมื่อผู้เล่นคนแรกของฝ่ายกระซิบก่อนออกมากระซิบบอกชื่อผู้เล่นของฝ่ายตรงข้ามให้เจ้าเมืองทราบ ต่อไปให้ฝ่ายตรงข้ามออกมากระซิบชื่อผู้เล่นของฝ่ายที่ได้กระซิบทีแรก แต่ถ้าผู้เล่นที่ออกมาเป็นผู้ที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งบอกชื่อไว้กับเจ้าเมือง เจ้าเมืองจะกล่าวคำว่า “โป้ง” ฝ่ายแพ้จะถูกปรับให้เป็นม้าโดยให้ผ่ายที่ชนะขึ้นขี่หลังแล้วพากลับไปส่งยังที่เดิม หรือบางครั้งผู้เล่นอาจตกลงกันว่า ให้ผู้เล่นที่ถูกโป้งเป็นเชลยและฝ่ายที่ทายถูกได้ทายอีกครั้งจนกว่าผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหมด ฝ่ายที่มีผู้เล่นเหลืออยู่จะเป็นฝ่ายชนะได้ขี่หลังผู้เล่นฝ่ายแพ้ ไปส่งยังเมือง

แหล่งที่มา:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น